องค์ความรู้ หมายถึง ตัวความรู้ที่กำหนดขอบเขตได้และระบุเฉพาะเจาะจงได้ เป็นสิ่งที่สร้าง ผลิต และพัฒนาได้ เผยแพร่ ถ่ายทอด และนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น พูดว่า งานวิจัยชิ้นนี้สร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับวงการศึกษา คำว่า "องค์ความรู้" แตกต่างจากคำว่า "ความรู้" ตรงที่ องค์ความรู้เป็นสิ่งภายนอกที่สร้างจากความรู้ที่อยู่ภายในตัวบุคคล องค์ความรู้สามารถกำหนดขอบเขตที่เฉพาะเจาะจงได้ ส่วนความรู้มีลักษณะเป็นนามธรรม อยู่ภายในตัวบุคคล ยากที่จะเห็นได้.
ภูมิปัญญา หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคลและสังคม ซึ่งได้สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมา ภูมิปัญญาจะเป็นทรัพยากรบุคคลหรือทรัพยากรความรู้ก็ได้
ทัศนคติ / วิสัยทัศน์ หมายถึง ความรู้สึก ความคิดหรือความเชื่อ และแนวโน้มที่จะแสดงออกซึ่งพฤติกรรมของบุคคล เป็นปฏิกิริยาโต้ตอบ โดยการประมาณค่าว่าชอบหรือไม่ชอบ ที่จะส่งผลกระทบต่อการตอบสนองของบุคคลในเชิงบวกหรือเชิงลบต่อบุคคล สิ่งของ และสถานการณ์ ในสภาวะแวดล้อมของบุคคลนั้นๆ โดยที่ทัศนคตินี้ สามารถเรียนรู้ หรือจัดการได้โดยใช้ประสบการณ์ และ ทัศนคตินั้นสามารถที่จะรู้ หรือถูกตีความได้จากสิ่งที่คนพูดออกมาอย่างไม่เป็นทางการ หรือจากการสำรวจที่เป็นทางการ หรือจากพฤติกรรมของบุคคลเหล่านั้น
จากการอธิบายความหมายข้างต้นอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า องค์ความรู้ ภูมิปัญญา และทัศนคติ นั้นทั้งสามอย่างมีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องซึ่งกันและกันเมื่อคนเราเกิดมา แต่ละคนนั้นย่อมเกิดการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมต่างๆเมื่อเกิดการเรียนรู้ก็ เกิดภูมิปัญญา เกิดแบบแผนในการดำเนินชีวิตต่างๆที่ได่สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเกิด เป็นองค์ความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นซึ่งใช้อธิบายสิ่งที่เป็นความรู้ภายในที่ไม่ สามารถอธิบายหรือบรรยายได้ในบางลักษณะเมื่อเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเกิดทัศนคติหรือวิสัยทัศน์ที่จะเป็นแนวโน้มส่งผลให้มนุษย์เกิดการ ประพฤติปฏิบัติหรือสนองต่อการดำเนินชีวิตอย่างเป็นแบบแผนได้ถ้าจะหาความแตก ต่างก็อาจกล่าวได้ว่าทั้งสามคำมีความหมายและลักษณะที่แตกต่างกันในตัวอยู่ แล้วเพียงแต่ว่ามีความหมายที่สอดคล้องกันเป็นนัยสำคัญเพื่ออธิบายวิธีการและ แบบแผนต่างๆให้กับมนุษย์
วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553
อธิบายวิธีการและความแตกต่างของ องค์ความรู้ ภูมิปัญญา และ ทัศนคติ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น